บทที่ 1 สารและสมบัติของสาร

สารและสมบัติของสาร

สสารและการจำแนก

สสาร ( Matter ) คือสิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่ และสามารถสัมผัสได้ หรืออาจหมายถึงสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา มีตัวตน ต้องการที่อยู่ สัมผัสได้ อาจมองเห็นหรือไม่เห็นก็ได้ เช่น อากาศ เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์เรียกสสารที่รู้จักแล้วว่า สาร

สาร( Substance) คือ สสารที่ศึกษาค้นคว้าจนทราบสมบัติและองค์ประกอบที่แน่นอนซึ่งก็คือเนื้อของสสารนั่นเอง

ตัวอย่าง   ของสารที่ใช้ในบ้านspd_20100104160525_b

เกลือแกง (Sodium chloride) สูตรเคมี : NaCl ผงฟู (sodium Bicarbonate) สูตรเคมี: NaHCO3

สมบัติของสาร มี 2 ประเภท คือ

1. สมบัติกายภาพ ( Physical Property ) หมายถึง สมบัติที่สังเกตได้จากลักษณะภายนอก และ เกี่ยวกับวิธีการทางฟิสิกส์ เช่น ความหนาแน่น , จุดเดือด , จุดหลอมเหลว

2. สมบัติทางเคมี ( Chemistry Property ) หมายถึง สมบัติที่เกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาเคมี เช่น การติดไฟ , การเป็นสนิม , ความเป็น กรด – เบส ของสาร

การจัดจำแนกสาร สามารถจำแนกออกเป็น 4 กรณี ได้แก่

1. การใช้สถานะเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
– สถานะที่เป็นของแข็ง ( Solid ) จะมีรูปร่าง และ ปริมาตรคงที่ ซึ่งอนุภาคภายในจะอยู่ชิดติดกัน เช่น ด่างทับทิม ( KMnO4 ) , ทองแดง ( Cu )
– สถานะที่เป็นของเหลว ( Liquid ) จะมีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ และ มีปริมาตรที่คงที่ ซึ่งอนุภาคภายในจะอยู่ชิดกันน้อยกว่าของแข็ง และ มีสมบัติเป็นของไหล เช่น น้ำมัน , แอลกอฮอล์ , ปรอท ( Hg ) ฯลฯ
– สถานะที่เป็นก๊าซ ( Gas ) จะมีรูปร่าง และ ปริมาตรที่ไม่คงที่ โดยรูปร่าง จะเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ อนุภาคภายในจะอยู่ ห่างกันมากที่สุด และ มีสมบัติเป็นของไหลได้ เช่น ก๊าซหุงต้ม , อากาศ

2. การใช้เนื้อสารเป็นเกณฑ์ จะมีสมบัติทางกายภาพของสารที่ได้จากการสังเกตลักษณะความแตกต่างของเนื้อสาร ซึ่งจะจำแนกได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
– สารเนื้อเดียว ( Homogeneous Substance ) หมายถึง สารที่มีเนื้อสารเหมือนกันทุกส่วน ทำให้สารมีสมบัติเหมือนกันตลอดทุกส่วน เช่น แอลกอฮอล์ , ทองคำ ( Au ) , โลหะบัดกรี
– สารเนื้อผสม ( Heterogeneous Substance ) หมายถึง สารที่มีเนื้อสารแตกต่างกันในแต่ละส่วน จะทำให้สารนั้นมีสมบัติ ไม่เหมือนกันตลอดทุกส่วน เช่น น้ำอบไทย , น้ำคลอง ฯลฯ

3. การละลายน้ำเป็นเกณฑ์ จะจำแนกได้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
– สารที่ละลายน้ำได้ เช่น เกลือแกง ( NaCl ) , ด่างทับทิม ( KMnO4 ) ฯลฯ
– สารที่ละลายน้ำได้บ้าง เช่น ก๊าซคลอรีน ( Cl2 ) , ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2 ) ฯลฯ
– สารที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ เช่น กำมะถัน ( S8 ) , เหล็ก ( Fe ) ฯลฯ
4. การนำไฟฟ้าเป็นเกณฑ์ จะจำแนกได้ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
– สารที่นำไฟฟ้าได้ เช่น ทองแดง ( Cu ) , น้ำเกลือฯลฯ
– สารที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น หินปูน ( CaCO3 ) , ก๊าซออกซิเจน ( O2 )
แต่โดยส่วนใหญ่นักเคมี จะแบ่งสารตามลักษณะเนื้อสารเป็นเกณฑ์ ดังนี้

แบบทดสอบ เรื่อง สารและสมบัติของสาร

1. ในการจ าแนกประเภทของสารเป็น สารละลาย คอลลอยด์ และสารแขวนลอย ควรพิจารณาโดยใช้ เกณฑ์ในข้อใด

ก. สี

ข. ความขุ่น

ค. องค์ประกอบ

ง. ขนาดอนุภาค

2. น าของเหลวชนิดหนึ่งไประเหยแห้ง พบว่าไม่มีสารใดเหลืออยู่ในภาชนะเลย การสรุปที่ดีที่สุดเกี่ยวกับ ของเหลวชนิดนี้คือข้อใด

ก. เป็นสารละลาย

ข. เป็นสารบริสุทธิ์

ค. เป็นตัวทำละลาย

ง. ไม่มีของแข็งเป็นองค์ประกอบ

เฉลยแบบทดสอบ

1. ง. เพราะ ควรใช้ขนาดอนุภาคเป็นเกณฑ์ ดังนี้ ถ้าไม่ผ่านทั้งกระดาษกรองและกระดาษเซลโลเฟน เป็นสารแขวนลอย ถ้าผ่านกระดาษกรองแต่ไม่ผ่านกระดาษเซลโลเฟนเป็นคอลลอยด์ ถ้าผ่านทั้งสอง อย่างเป็นสารละลาย

2. ง. เพราะ ควรสรุปว่าไม่มีของแข็งเป็นองค์ประกอบ

ใส่ความเห็น